คำเตือน!! ก่อนที่จะใช้งาน OSX Public Bata



OSX El Capitan ได้มีการปล่อยตัว Public Bata มาแล้ว ผมจะมาแนะนำข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะใช้งานและข้อควรระวังในการใช้งานกันก่อนนะครับ ก่อนที่จะเราจะมาลง OSX ตัวใหม่ของทาง Apple กันที่ปล่อยออกมาให้เราใช้งานอยู่ในขณะนี้เราจะต้องรู้กันก่อนว่า Public Bata คืออะไร? แล้วมันต่างกับ Develop Bata อย่างไร?

สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะทดสอบกับ OSX El Capitan Public Bata


อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า Public Bata ที่ปล่อยออกมานั้นจะอยู่ในช่วงทดสอบอยู่ จึงมีบั๊กเป็นเรื่องธรรมดา ผมขอบอกไว้ก่อนเลยว่าอย่านำเครื่องที่เราใช้งานกับบริษัทหรือเครื่องที่เราทำงานอยู่ใช้ด้วยกันนะครับ ถ้าอยากจะลองใช้แนะนำให้แยก Partition ออกเป็นสอง Partion ก่อนแล้วค่อยลงเจ้าตัว Public Bata นี้(เอาไว้ทดสอบส่วนการทำงานเราก็จะทำการแยกไว้ครับ) โดยการที่เราจะแยก Partition เราใช้เจ้าตัว Disk Utility (อยู่ใน Applications/ Utilities)
โดยหลักแล้ว การแบ่ง partition ผมขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ  ดังนี้

1. การแบ่ง partition บน external hard drive ( hard disk ภายนอก ซึ่งเราซื้อแยกมาต่างหาก)
2. การแบ่ง partition บน Macintosh HD หรือว่า hard disk ที่เรามีอยู่แล้วในเครื่อง (โดยที่ข้อมูลเดิมยังอยู่ครบไม่ต้อง Format หรือว่าล้างข้อมูลกันใหม่)

แต่วันนี้เราจะยังไม่พูดถึงเรื่องของการแบ่ง Partition กันนะครับเอาไว้วันหลังผมจะมาเขียนเพิ่มเติมและอธิบายให้ละเอียด(เนื้อหาย่อยเยอะมาก)

Public Bata คืออะไร? แล้วมันต่างกับ Develop Bata อย่างไร?

เกริ่นมาซะนาน เรามาขอตอบข้อสงสัยที่เรามีกันดีกว่าครับว่า Public Bata คืออะไร? แล้วมันต่างกับ Develop Bata อย่างไร?

Public Beta คือซอฟต์แวร์ทดสอบสำหรับผู้ใช้ทั่วไป จุดประสงค์คือทดสอบการใช้งานในชีวิตประจำวัน ส่วน Developer Beta จะเป็นซอฟต์แวร์ทดสอบสำหรับนักพัฒนาที่เอาไว้ทดสอบแอพเป็นหลัก โดย Apple แจ้งว่า Developer Beta อาจอัพเดตบ่อยกว่า Public Beta

ข้อควรระวัง!!! ถ้าหากเราใช้ OSX ที่เป็น OSX หลักอยู่แล้ว 1 Partition แต่เรามีการใช้งาน Bootcamp อยู่อีก เราไม่ควรที่จะลง OSX El Capitan Public Bata เพิ่ม เพราะหากเราลงเพิ่ม Bootcamp ของเราจะมองไม่เห็น Disk หรือบางกรณีอาจจะมองเห็นแต่เข้าไปใช้งานไม่ได้(bootloadder ไม่มี) หากจะทำการทดลองแนะนำให้เลือกอย่างใดอย่างนึงระหว่าง Bootcamp กับ OSX El Capitan Public Bata เพราะเครื่องจะใช้งานได้เพียง 2 Partition เท่านั้น!!


0 ความคิดเห็น :

สงสัยกันไหม? มาทำความรู้จักตัวเลขบน MicroSD Card กันดีกว่า!!

MicroSD Card ก็นับเป็นอุปกรณ์สำคัญชนิดนึงเพราะเราใช้งานกับมันได้หลากหลายกับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน,กล้องถ่ายรูปถ่ายวีดีโอต่างๆ เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ขาดกันไม่ได้เลยทีเดียว เพราะมันสามารถใช้งานเป็นหน่วยความจำต่างๆ อาจจะเป็นหน่วยจำเพิ่มเติมหรือหน่วยความจำหลักสำหรับทำอะไรก็แล้วแต่ เราก็ต้องยอมรับจริงๆว่าสมัยนี้ความไม่พ้นเรื่องความสะดวกในการพกพาใช้งานต่างๆคงหนีไม่พ้นเจ้า MicroSD Card พวกนี้แน่นอน แต่!! เรารู้ไหมที่ๆเราเรียกกันว่า Class 2 4 6 10 คืออะไร? แล้วอะไรคือ Class? มันมีด้วยหรือ Class? สงสัยกันใช่ไหมครับ? งั้นเราคลายสงสัยกันดีกว่า


Class บน MicroSD Card คืออะไร?


Class คือความเร็วขั้นต่ำที่การ์ดตัวนั้นใช้ เช่น Class 10 ก็คือความเร็วต่ำสุดที่ 10MB/s (ส่วนเรื่องความเร็วสูงสุดนั้น ตัวผู้ผลิตจะเป็นคนกำหนด)

แล้ว Class ที่นิยมใช้กันอยู่มี Class อะไรบ้าง?


ที่นิยมใช้ๆกันอยู่ทั่วๆไปนั้นก็จะมี Class 2 4 6 และ 10 ครับ

แต่ละ Class ทำงานอย่างไรเหมาะกับงานอะไร?


Class 2 ส่วนมากจะใส่ในอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการความเร็วมากนัก ส่วนใหญ่จะใช้กับ มือถือ เครื่องเล่น MP3
Class 4 กับ 6 จะเป็นความเร็วที่เร็วกว่า Class 2 ขึ้นมาหน่อย ส่วนมากจะใส่ในกล้องวีดีโอแบบ HD อาจจะใช้งานกับ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต
Class 10 ส่วนมากจะนิยมใส่กับกล้อง DSLR หรือกล้องวีดีโอแบบ Full HD หรืออุปกรณ์ที่ต้องการความเร็วสูง

ถ้าหากเราซื้อ Class มาใช้ต่ำกว่า Class ที่บอกไปหล่ะ?


สมมุติว่าเราซื้อ Class 2 มาใส่กับกล้อง DSLR หรือกล้องวีดีโอ Full HD ในระหว่างที่เราถ่ายภาพนั้น ตัวการ์ดจะบันทึกภาพไม่ทัน การบันทึกภาพอาจจะช้าหรืออาจะถึงขั้นหยุดถ่ายหรือบางทีอาจจะทำให้เครื่องค้างในระหว่างเรียกใช้งานเยอะๆก็ได้นะครับ 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะอยู่ที่ตัวกล้องที่ใช้ถ่ายวีดีโอด้วยนะครับ ไม่ได้อยู่ที่ตัวการ์ดเพียงอย่างเดียว ในกรณีนี้เราอาจจะหมายถึง สมาร์ทโฟน มือถือ แท็บแล็ต อาจจะไม่ใช่ถ่ายด้วยกล้อง DSLR อย่างเดียวก็ได้นะครับ




อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ถ้าเราเลือกซื้อ MicroSD Card ที่ไม่เหมาะกับอุปกรณ์ของเราเองจะเป็นปัญหาอย่างไร เราถึงต้องนึกถึงว่าเราซื้อมาใช้งานได้กับอุปกรณ์เรามากน้อยแค่ไหน มันตรงกับความต้องการของเราหรือเปล่า เราใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพไหม MicroSD Card ตัวนี้ตอบโจทย์เราหรือเปล่า และแน่นอนก่อนที่เราจะซื้ออย่าลืมตรวจสอบการใช้งานของอุปกรณ์และ MicroSD Card และรวมไปถึง Class ด้วย มิเช่นนั้นอาจจะซื้อไปแล้วใช้งานไม่ได้อย่างที่เราต้องการจะทำให้เสียเงินไปฟรีๆ ก็ได้นะครับ


0 ความคิดเห็น :

ขั้นตอนเบื้องต้นก่อนเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ

ขั้นตอนเบื้องต้นก่อนเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ


ในขั้นตอนแรกก่อนที่เราจะเลือกซื้อโทรศัพท์นั้น เราจำเป็นต้องดูงบประมาณและความต้องการของเราก่อน เมื่อเรามีงบประมาณที่พอจะซื้อตรงกับความต้องการเราแล้วก็จะสามารถซื้อได้เลย แต่ก่อนที่จะซื้อเราก็ต้องรู้ก่อนว่าโทรศัพท์มือถือที่เราใช้ๆกันอยู่ทุกวันนี้มีราคาประมาณเท่าไหร่และอยู่ในเกณฑ์ ในที่นี้ผมจะแยกประเภทโทรศัพท์มือถือตามเกณฑ์ของราคา และคุณภาพทั่วๆไปนะครับ บางคนอาจจะมีช่องทางที่ไม่เหมือนใครหรือทราบวิธีการซื้อขายในอีกราคานึงก็แล้วแต่ผู้อ่านเลย เอาล่ะ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

ประเภทที่ 1. ราคามือถือต่ำกว่า 5,000

ประเภทนี้ส่วนมากจะใช้งานได้พอประมาณ แต่ถ้าเล่นเกมส์หรืออะไรต่างๆจะไม่ค่อยดีอยู่ไม่นานและทนส่วนมากจะเน้นพวกให้พ่อแม่ใช้หรือคนไม่ค่อยสนใจเทคโนโลยี ส่วนมือถือที่พบเห็นได้ในข้อนี้ ราคาต่ำกว่า 5000 นั้นก็คือพวกมือถือจีน หรือมือถือก๊อปส่วนมากจะเห็นได้เยอะแยะ แต่ส่วนมากจะใช้งานไม่ได้ยาวนาน จะพังงาย ไม่คงทน

ประเภทที่ 2. ราคามากกว่า 5,000 แต่ไม่เกิน 10,000 (5,000-10,000)

ประเภทนี้ก็จะอีกระดับนึงคุณภาพจะดีกว่าต่ำกว่า 5,000 เยอะขึ้นมาในอีกระดับนึง จะเริ่มมีของแบรนด์มากขึ้นแต่ส่วนมากจะเป็นตลาดระดับล่างอยู่แต่ถ้ามีคนใช้แต่คุณภาพดีราคาประหยัดก็จะมีพวก zenfone ซึ่งคนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นสเปคดีราคาระดับล่าง แต่มีไม่กี่รุ่นมาก

ประเภทที่ 3. ราคามากกว่า 10,000 แต่ไม่เกิน 15,000 (10,000-15,000)

นี่คือราคาของมือถือระดับกลางส่วนมากจะขายเยอะ และการใช้งานก็ระดับกลางๆสมชื่อเช่นกัน การคงทนหรือคุณภาพก็จะอยู่ได้ในระดับกลางๆ ใช้งานไม่ได้แย่ แต่ก็ไม่ได้ถึงกับขั้นว่าดีมาก

ประเภทที่ 4. ราคามากกว่า 15,000 แต่ไม่เกิน 20,000 (15,000-20,000)

ราคาประมาณนี้บางแบรนด์จะเป็นมือถือระดับ ไฮเอ็นแล้ว หรือเรือธง แต่บางยี่ห้อหรือบางแบรนด์จะเป็นระดับกลางอยู่ หรือไม่ก็เอาระดับเรือธงของแบรนด์ตัวเองมาตัด option บาง option ออก ตัดนู้นออกบ้างนี่ออกบ้างเพื่อจะเอามาขายในราคานี้

ประเภทที่ 5. ราคามากกว่า 20,000 ขึ้นไป

ราคาประมาณนี้จะเป็นมือถือประเภทเรือธงหรือไม่ก็มือถือที่ดีที่สุดของแบรนด์แล้ว ส่วนราคาอันไหนจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็แล้วแต่แบรนด์เลย อาจจะมีข้อแตกต่างเช่น วัสดุดีกว่าจึงขายแพงกว่า หน่วยความจำมากกว่าเลยต้องเพิ่มราคาขึ้น

แต่ถ้าบางคนอาจจะมองถ้าอยากใช้งานหรือไม่ได้จริงจังเรื่องมือถือใหม่หรือเก่าแต่ใช้งานได้ก็ส่วนมากจะมองของมือสอง เพราะ Android อย่างที่รู้ๆกันคือราคามันจะตกไวมาก... ไว้กว่าของ Apple อีก เช่นซื้อมาได้ 1 วันราคาก็ลดลงครึ่งนึงแล้วก็มี ส่วน Apple ซื้อมาได้หลายวันราคายังไม่ลดลงเลยหรือไม่ก็ลดลงมา 3-4 พันเอง ถึงแม้จะใช้งานมาได้หลายเดือนแล้วก็ตาม

ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้คือการแยกประเภท เพื่อที่จะให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือได้ตามที่การของตัวเองอาจมีข้อผิดพลาดหรือข้อมูลอันใดที่ขัดแย้งกับผู้อ่านก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

1 ความคิดเห็น :

การทำงานของ Spanning-Tree

Spanning-tree คืออะไร?


โดยทั่วไปถ้าเราพูดถึงโปรโตคอลที่ใช้ในการป้องกัน loop หรือ Broadcast-Strom เราก็จะนึกถึง STP (Spanning Tree Protocol) มันจะทำการ block port เพื่อลดปัญหาต่างๆในการส่งข้อมูลของ Switch โดย Switch มันจะทำการคุยกันว่าจะ block port ไหนและ port ไหนจะเปิดใช้งานเพื่อทำการ forward ข้อมูลต่อ แต่ในการเลือกของมันว่า port ไหนจะทำการเปิดใช้งานหรือ port ไหนจะทำการปิดใช้งานหรือ block port มันจะหาเส้นทางการใน forward ข้อมูลที่ดีที่สุดในการใช้งาน ส่วน port ที่มีการส่งข้อมูลช้าที่สุดหรือการ forward ข้อมูลที่ช้าที่สุดจะถูกทำการ block port (ปิดการใช้งาน) เราจะมาอธิบายรายละเอียดในการเลือก port ที่จะทำการปิดการ (block port) ใช้งานหรือเปิดการใช้งานกันต่อไปนี้

1. Switch จะทำการหา Root Bridge ก่อนเป็นอันดับแรก โดยการคัดเลือกของมันนั้นจะดูจากค่า Priority ก่อนเป็นอันดับแรกว่า Switch ไหนที่มีค่า Priority ที่ต่ำที่สุด ในกรณีที่ค่า Priority เท่ากันมันก็จะมาดู Mac Address แทนว่า Switch ตัวไหนมีค่า Mac Address ที่ต่ำที่สุด ตัวนั้นก็จะเป็น Root Bridge ส่วน Switch ตัวที่เหลือจะกลายเป็น Non-Root Bridge โดยปริยาย แต่โดยส่วนมากแล้วค่า Priority ของ Switch จะถูกเซ็ทค่า Default (ค่าเริ่มต้น) มาให้ก็คือ 32768 (จะเท่ากันทั้งหมดแล้วจะทำการคัดเลือกโดยการใช้ Mac Address แทน


จากภาพ เราจะดูค่า Mac Address ได้จากตอนเปิด Switch


จากภาพ เราจะเห็นได้ว่าอันไหนคือ Root Bridge (Switch ตัวที่วงไว้)

2.เมื่อทราบแล้วว่า Switch ตัวไหนเป็น Root Bridge ตัวไหนคือ Non-Root Bridge จะทำการหา Root Port โดย Root Port จะเป็น Port ที่ตรงกันข้ามกับ Root Bridge เสมอ


จากภาพ Port ที่อยู่ตรงกันข้ามกับ Root Bridge ก็คือ Root Port


3.เมื่อหา Root Port ได้แล้วจะทำการหา Designated Port โดย Designated Port จะอยู่ตรงกันข้ามกับ Root Port แต่จะมีอีก 1 Connection ที่เราไม่รู้ว่า Designated Port จะอยู่ตรงไหน เพราะตรง connection นั้นไม่มี Root Port แต่จะทำการหาในขั้นตอนที่ 4

จากรูป วงสีน้ำเงินคือ Root Port และวงสีแดงคือ Designated Port ที่อยู่ตรงกันข้ามกับ Root Port ส่วน
สีดำคือ Connection ที่เรายังไม่รู้ว่า Port ไหนคือ Designated Port หรือ Block Port

4.ต่อมาจะทำการหา Root Port กับ Designated Port ใน Connection ที่เหลือ โดยจะทำการหาเส้นทางที่ดีที่สุดจากระหว่าง  Switch 1 กับ Switch 2 ไปหา Switch 3 ว่าเส้นทางไหนใกล้ที่สุดแต่ถ้าเส้นทางที่ไปหาเท่ากัน จะทำการเลือกจาก Mac Address ของ Switch ทั้งสองเอามาเปรียบเทียบกันว่า Switch ตัวใดมี Mac Address น้อยกว่ากัน Port จากฝั่ง Switch ตัวนั้น (ตัวที่น้อยกว่า) จะเป็น Designated Port และ Port ที่ตรงกันข้ามกับ Designated Port จะเป็น Block Port (Port จาก Switch ที่มีค่า Mac Address มากกว่า)

จากรูป จะสังเกตการเปรียบเทียบระหว่าง 2 Switch แล้วจะเห็นได้ว่า Switch 1 
มีค่า Mac Address น้อยกว่า Switch 2 



นี่คือการ Block Port ของ Spanning-Tree 

1 ความคิดเห็น :